หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

มารู้จัก..มะกอก...กันเถอะ

ปู๊น ปู๊น ไม่ใช่เสียงรถไฟ แต่เป็นเสียงแตรรถผลไม้ดอง
    ผลไม้ดองในตู้กระจกใสมีมากมายให้เลือก มะม่วง สับปะรด ฝรั่ง แตงโม มันแกว แต่แล้วสายตาก็หยุดชะงักอยู่ที่ผลไม้ลูกสีเขียว รูปไข่ พลันมือก็ชี้แล้วบอกว่า ขอมะกอก พอมึดสับลงไปเมล็ดของมะกอกก็มีเส้นใยระโยงระบาง เปรี้ยวนิดๆ มันหน่อยๆ กรอบๆ จิ้มพริกกับเกลืออร่อยดีแท้ รู้ไหมว่านั่นเป็นมะกอกฝรั่ง
    แต่ถ้ามองไปในกระจาดผักที่กินกับน้ำพริก ขนมจีนหรือวางขายตามตลาด อาจมีใบมะกอกเหมือนขนนกสีเขียวอมแดงใบเป็นมัน กลิ่นหอม เปรี้ยวอมหวาน

วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

ฟักข้าว…ผักเพื่อสรรพสัตว์

ฟัก แฟง แตงโม ไชโยโห่ฮิ้ว
    ไม่ว่าฟักเขียว แฟง หรือว่าแตงโม ทุกคนรู้จัก แต่ถ้าฟักข้าว จะมีสัก 1 ใน 10 หรือเปล่าที่มีคนรู้จัก เป็นเพราะฟักข้าวเป็นพืชบ้านนอกจริงๆ ทีมักจะขึ้นอยู่ในป่าหรือตามหัวไร่ปลายนา และเมื่อเมืองขยายออกไปฟักข้าวก็ถูกถากถางออกไปด้วย
    นั่นแหละคือจุดเริ่มต้นด้านการทำลายแหล่งอาหารธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งให้หายไปอย่างเงียบๆ

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

ผักหวานบ้าน "ผักแสนอดทน"

เห็นเด็กเล็กๆ กำลังวิ่งเล่นกันอยู่ ทำให้ย้อยนึกถึงความทรงจำในวัยเด็ก
    เมื่องลองนึกเปรียบเทยบดูแล้วทำไมเด็กในสมัยนี้มักเป็นโรคภูมิแพ้กันเยอะมาก ไม่ค่อยแข็งแรง ผักผลไม้ก็ไม่ค่อยชอบกินกัน พ่อแม่ต้องใช้ลูกล่อลูกชนสารพัดกว่าที่เด็กจะกินผักได้แต่ละคำ เมื่อนึกถึงตัวเองแล้วแตกต่างกันลิบลับ ตั้งแต่เด็กจนโตถ้าในสำรับกับข้าวไม่มีผักสีเขียวๆ ให้เป็นอาหารตา กับข้าวจานนั้นก็เป็นอาหารปากได้น้อยเสียเหลือเกิน

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

กระเจี๊ยบแดง จากชาซูดานเป็นผักไทย

    มีคนเพียงไม่กี่คนที่รู้ว่า กระเจี๊ยบแดงมีสัญชาติดั้งเดิมเป็นของซูดาน อยู่ในทวีปแอฟริกาอันไกลโพ้น มีการบันทึกไว้ว่าผู้ที่น้ำกระเจี๊ยบแดงเข้ามาปลูกในประเทศไทยเป็นคนแรกคือ ชาวเยอรมัน โดยนำไปปลูกทีอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เพื่อทำเป็นกระเจี๊ยบแห้งส่งกลับไปขายที่เยอรมัน เนื่องจากคนเยอรมันนิยมนำดอกกระเจี๊ยบแดงแห้งไปชงดื่ม

ไม้มงคลนามว่า....ขนุน

    ไม้มงคลกับโชคลาภ และความสุขที่น้ำมาสู่เรือนเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน ในบรรดาไม้มงคลไม่ว่า ต้นมะยมหน้าบ้าน มะขามกลางบ้าน และขนุนหลังบ้าน ที่ปลูกเพื่อความมั่งคง ให้เป็นที่นิยมชมชอบของคนทั่วไป และได้รับความช่วยเหลือเกื้อกลูต่างๆ ล้วนเป็นสิริมงคลกับครอบครัวทั้งสิ้น

ข้าวโพดฝักอ่อน ทารกแห่งพงศ์ผัก

    ในอดีต เราปลูกพืชผักเพื่อยังชีพและกินในครัวเรือน ถ้าเหลือกินเหลือใช้ก็แบ่งปันแลกเปลี่ยนกันในละแวกบ้าน แต่ปัจจุบันระบบชีวิตที่แปรเปลี่ยน ทำให้พึชผักหลายชนิดถูกจัดอันดับเป็น "ผักอุตสาหกรรม" คือมีการปลูกจำนวนมากเพืื่อขาย แถมยังมีโอกาสได้รับการสนับสนุนให้ส่งไปชุบตัวในเมืองนอกกับเขาด้วย ในจำนวน "ผักอุตสาหกรรม" ทั้งหลายก็มีฝักข้าวโพดอ่อนรวมอยู่ด้วย